- กระทู้ ผู้เขียน
- #1
“ใบปัดน้ำฝนรถยนต์” เป็นอุปกรณ์สำคัญของรถยนต์อย่างหนึ่งที่เจ้าของรถทุกคันควรให้ความสำคัญ ดูแลรักษาให้สามารถใช้งานได้เป็นปกติอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถึงเดือนที่เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน มีฝนตกต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน ส่งผลต่อทัศนวิสัยในการขับขี่ (อ่าน ขับรถขณะฝนตกให้ปลอดภัย คลิก https://www.smk.co.th/newsdetail/210) แล้วจะมีวิธีการเลือก “ใบปัดน้ำฝนรถยนต์” หรือตรวจเช็ค “ใบปัดน้ำฝนรถยนต์” ให้พร้อมใช้งานได้อย่างไร? สินมั่นคงประกันรถยนต์ รวบรวมข้อมูลมาไว้ให้แล้วค่ะ
ประเภทของ “ใบปัดน้ำฝนรถยนต์”
การทำงานของใบปัดน้ำฝนที่ดี จะต้องเป็นการปาดน้ำฝนโดยมีช่องว่างระหว่างกระจกและน้ำฝนประมาณ 0.01- 0.05 มม. เพื่อสร้างผิวฟิล์มบนกระจกหรือเป็นการปาดน้ำให้เรียบ โดยไม่ปาดน้ำทั้งหมดออกไปจากกระจก เพราะหากออกแบบให้ใบปัดอยู่ติดกับกระจกมากเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาใบปัดสะดุดและสั่นกระพือเมื่อใช้งานจริง โดยประเภทของใบปัดน้ำฝน มีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่
1. ชนิดแบบมีโครงเหล็ก (Conventional Wiper Blade) เป็นใบปัดน้ำฝนที่ใช้กันทั่วไป พบเห็นได้มากในรถยนต์เกือบทุกคัน ลักษณะที่สังเกตได้ของใบปัดน้ำฝนชนิดนี้คือมีโครงเหล็กหรือโครงโลหะแขนยางใบปัดคู่กับยางใบปัดน้ำฝน มีความทนทาน โดยประสิทธิภาพในการปัดน้ำฝนของใบปัดน้ำฝนประเภทนี้ จะขึ้นอยู่กับ
· คุณภาพของยาง ยางคุณภาพดีส่วนมากมักมาจากภายในประเทศไทยหรือนำเข้าจากมาเลเซีย ผู้ผลิตจะใส่สารปรุงแต่งบางตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น สารต่อต้านแสงยูวี คาร์บอนแบลค
· จำนวนจุดที่เป็นข้อต่อบนแขนของใบปัดน้ำฝน ยิ่งมีจุดข้อต่อมาก ยิ่งกระจายแรงกดไปบนยางรีดน้ำฝนได้ดี ทำให้ใบปัดน้ำฝนรีดน้ำได้สะอาดเกลี้ยงเกลา ไม่ทิ้งคราบน้ำ
· การออกแบบโครงเหล็ก ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายออกแบบโครงเหล็กให้มีความโค้งมนรับกับแรงลมตามหลักอากาศพลศาสตร์ ทำให้เกิดการกระพือของใบปัดน้ำฝนน้อยแม้รถยนต์จะวิ่งด้วยความเร็วสูง
2. ใบปัดน้ำฝนแบบซ่อนแขนใบปัดน้ำฝน (Semi Concealed Wiper Blade) จะมีโครงสร้างเหมือนกับแบบแรก แต่ผู้ผลิตจะออกแบบที่ครอบเพิ่มขึ้นมา เพื่อนำมาครอบแขนใบปัดน้ำฝนไว้ แต่ยังคงเห็นเนื้อยางของใบปัดน้ำฝนอยู่ จุดประสงค์เพื่อความสวยงามแต่ยังมีประสิทธิภาพในการปาดน้ำที่ดี สามารถพบเห็นได้ในรถยนต์บางรุ่น
3. ใบปัดน้ำฝนแบบไร้โครงเหล็ก (Flat Blade) จะไม่สามารถสังเกตเห็นแขนของใบปัดน้ำฝนและตัวยางปัดน้ำฝนเลย เนื่องจากไม่มีโครงเหล็กแต่จะมีแกนเหล็กฝังไว้ในเนื้อยาง ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติในการใช้งานได้ดี เนื่องจากน้ำหนักของใบปัดจะถูกกระจายไปเท่าๆ กันทั่วทั้งแขนของใบปัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปาดน้ำ และลักษณะของใบปัดประเภทนี้ยังลดพื้นที่ต้านลมเมื่อปัดน้ำฝนขณะขับขี่ด้วยความเร็วสูงได้อีกด้วย
วิธีเลือก “ใบปัดน้ำฝนรถยนต์”
1. สังเกตรุ่นรถยนต์จากข้างบรรจุภัณฑ์ของผู้ผลิตใบปัดน้ำฝนให้ตรงกับรุ่นรถยนต์ที่ใช้อยู่
2. ไม่ควรเลือกซื้อใบปัดน้ำฝนเก่าหรือผลิตไว้นานแล้ว เพราะยางบนใบปัดน้ำฝนมีอายุการใช้งานที่จำกัด บางครั้งผู้จำหน่ายไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้หมดภายในหน้าฝนปีก่อน ก็จะนำออกมาลดราคาในปีถัดไป ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ใช้รถมักเปลี่ยนใบปัดน้ำฝนเฉพาะช่วงหน้าฝนเท่านั้น
3. รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ก้านของใบปัดน้ำฝนทางฝั่งคนขับและคนนั่งจะมีขนาดไม่เท่ากัน โดยขนาดของใบปัดน้ำฝนจะอยู่ที่ประมาณ 14” หรือ 21” ซึ่งหากซื้อแยกเป็นกล่องๆ จากร้านทั่วไปต้องอ่านรายละเอียดข้างกล่องให้ชัดเจน
4. เลือกใบปัดน้ำฝนให้ถูกฝั่ง หากบนใบปัดน้ำฝนมีการะบุภาษาอังกฤษตัวย่อบนใบปัด เช่น อักษร “D” จะย่อมาจาก “Driver” ให้เข้าใจว่าใบปัดใบนั้นสำหรับติดตั้งฝั่งคนขับ ส่วนอักษร “P” ย่อมาจาก “Passenger” จะเป็นใบปัดน้ำฝนสำหรับที่ฝั่งคนนั่ง
ควรต้องเปลี่ยน “ใบปัดน้ำฝน” เมื่อไร?
การเปลี่ยนในปัดน้ำฝน สามารถเลือกได้ว่าจะเปลี่ยนยกทั้งโครงหรือเปลี่ยนเฉพาะยางใบปัด ซึ่งหากโครงใบปัดยังสภาพดีอยู่สามารถเลือกเปลี่ยนเฉพาะยางได้ ส่วนก้านใบปัดนั้น ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยนัก เพราะมักมีอายุการใช้งานนานนับสิบปีกว่าสปริงใบปัดจะล้า ซึ่งอาจล้าตามอายุการใช้งานหรือล้าจากการใช้งานผิดวิธี เช่น การยกใบปัดน้ำฝนตั้งขึ้นเวลาจอดรถตากแดด จะยิ่งทำให้อายุของสปริงที่ก้านใบปัดเสื่อมเร็วขึ้น โดยมีวิธีการสังเกตสภาพของใบปัดน้ำฝน ดังนี้
1. ใบปัดทำงานไม่เป็นจังหวะ ใบปัดที่แห้งหรือเปื้อนสนิมจากโครงเหล็ก อาจไปขัดขวางการทำงานของใบปัดให้มีลักษณะกระโดดของเส้นแนวตั้งข้ามไปมา
2. รอยปัดเป็นริ้ว ไม่เรียบ อาจเกิดจาก ซากกิ่งไม้ เศษหินจากถนนทำให้มีรอยยาวหรือยางบริเวณใบปัดแห้งแตก
3. รอยแยกขณะปัดฝน อาจเกิดจากใบปัดหมดอายุการใช้งานหรือแห้งแตกจากการโดนแดดเป็นเวลานาน
4. มีเสียงเสียดสีขณะใช้งาน อาจเกิดจากใบปัดหมดอายุ ยางจึงสูญเสียความยืดหยุ่น เกิดการแห้ง และแข็งตัว
ดูแลรักษารถยนต์ให้คงสภาพดีอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยและทัศนวิสัยในการขับขี่บนท้องถนน ช่วยให้คุณอุ่นใจในยามขับขี่ท่ามกลางสายฝนได้มากขึ้น ด้วยประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/premotor หรือ โทร.1596
ประเภทของ “ใบปัดน้ำฝนรถยนต์”
การทำงานของใบปัดน้ำฝนที่ดี จะต้องเป็นการปาดน้ำฝนโดยมีช่องว่างระหว่างกระจกและน้ำฝนประมาณ 0.01- 0.05 มม. เพื่อสร้างผิวฟิล์มบนกระจกหรือเป็นการปาดน้ำให้เรียบ โดยไม่ปาดน้ำทั้งหมดออกไปจากกระจก เพราะหากออกแบบให้ใบปัดอยู่ติดกับกระจกมากเกินไป จะทำให้เกิดปัญหาใบปัดสะดุดและสั่นกระพือเมื่อใช้งานจริง โดยประเภทของใบปัดน้ำฝน มีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่
1. ชนิดแบบมีโครงเหล็ก (Conventional Wiper Blade) เป็นใบปัดน้ำฝนที่ใช้กันทั่วไป พบเห็นได้มากในรถยนต์เกือบทุกคัน ลักษณะที่สังเกตได้ของใบปัดน้ำฝนชนิดนี้คือมีโครงเหล็กหรือโครงโลหะแขนยางใบปัดคู่กับยางใบปัดน้ำฝน มีความทนทาน โดยประสิทธิภาพในการปัดน้ำฝนของใบปัดน้ำฝนประเภทนี้ จะขึ้นอยู่กับ
· คุณภาพของยาง ยางคุณภาพดีส่วนมากมักมาจากภายในประเทศไทยหรือนำเข้าจากมาเลเซีย ผู้ผลิตจะใส่สารปรุงแต่งบางตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น สารต่อต้านแสงยูวี คาร์บอนแบลค
· จำนวนจุดที่เป็นข้อต่อบนแขนของใบปัดน้ำฝน ยิ่งมีจุดข้อต่อมาก ยิ่งกระจายแรงกดไปบนยางรีดน้ำฝนได้ดี ทำให้ใบปัดน้ำฝนรีดน้ำได้สะอาดเกลี้ยงเกลา ไม่ทิ้งคราบน้ำ
· การออกแบบโครงเหล็ก ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายออกแบบโครงเหล็กให้มีความโค้งมนรับกับแรงลมตามหลักอากาศพลศาสตร์ ทำให้เกิดการกระพือของใบปัดน้ำฝนน้อยแม้รถยนต์จะวิ่งด้วยความเร็วสูง
2. ใบปัดน้ำฝนแบบซ่อนแขนใบปัดน้ำฝน (Semi Concealed Wiper Blade) จะมีโครงสร้างเหมือนกับแบบแรก แต่ผู้ผลิตจะออกแบบที่ครอบเพิ่มขึ้นมา เพื่อนำมาครอบแขนใบปัดน้ำฝนไว้ แต่ยังคงเห็นเนื้อยางของใบปัดน้ำฝนอยู่ จุดประสงค์เพื่อความสวยงามแต่ยังมีประสิทธิภาพในการปาดน้ำที่ดี สามารถพบเห็นได้ในรถยนต์บางรุ่น
3. ใบปัดน้ำฝนแบบไร้โครงเหล็ก (Flat Blade) จะไม่สามารถสังเกตเห็นแขนของใบปัดน้ำฝนและตัวยางปัดน้ำฝนเลย เนื่องจากไม่มีโครงเหล็กแต่จะมีแกนเหล็กฝังไว้ในเนื้อยาง ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติในการใช้งานได้ดี เนื่องจากน้ำหนักของใบปัดจะถูกกระจายไปเท่าๆ กันทั่วทั้งแขนของใบปัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปาดน้ำ และลักษณะของใบปัดประเภทนี้ยังลดพื้นที่ต้านลมเมื่อปัดน้ำฝนขณะขับขี่ด้วยความเร็วสูงได้อีกด้วย
วิธีเลือก “ใบปัดน้ำฝนรถยนต์”
1. สังเกตรุ่นรถยนต์จากข้างบรรจุภัณฑ์ของผู้ผลิตใบปัดน้ำฝนให้ตรงกับรุ่นรถยนต์ที่ใช้อยู่
2. ไม่ควรเลือกซื้อใบปัดน้ำฝนเก่าหรือผลิตไว้นานแล้ว เพราะยางบนใบปัดน้ำฝนมีอายุการใช้งานที่จำกัด บางครั้งผู้จำหน่ายไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้หมดภายในหน้าฝนปีก่อน ก็จะนำออกมาลดราคาในปีถัดไป ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ใช้รถมักเปลี่ยนใบปัดน้ำฝนเฉพาะช่วงหน้าฝนเท่านั้น
3. รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ก้านของใบปัดน้ำฝนทางฝั่งคนขับและคนนั่งจะมีขนาดไม่เท่ากัน โดยขนาดของใบปัดน้ำฝนจะอยู่ที่ประมาณ 14” หรือ 21” ซึ่งหากซื้อแยกเป็นกล่องๆ จากร้านทั่วไปต้องอ่านรายละเอียดข้างกล่องให้ชัดเจน
4. เลือกใบปัดน้ำฝนให้ถูกฝั่ง หากบนใบปัดน้ำฝนมีการะบุภาษาอังกฤษตัวย่อบนใบปัด เช่น อักษร “D” จะย่อมาจาก “Driver” ให้เข้าใจว่าใบปัดใบนั้นสำหรับติดตั้งฝั่งคนขับ ส่วนอักษร “P” ย่อมาจาก “Passenger” จะเป็นใบปัดน้ำฝนสำหรับที่ฝั่งคนนั่ง
ควรต้องเปลี่ยน “ใบปัดน้ำฝน” เมื่อไร?
การเปลี่ยนในปัดน้ำฝน สามารถเลือกได้ว่าจะเปลี่ยนยกทั้งโครงหรือเปลี่ยนเฉพาะยางใบปัด ซึ่งหากโครงใบปัดยังสภาพดีอยู่สามารถเลือกเปลี่ยนเฉพาะยางได้ ส่วนก้านใบปัดนั้น ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยนัก เพราะมักมีอายุการใช้งานนานนับสิบปีกว่าสปริงใบปัดจะล้า ซึ่งอาจล้าตามอายุการใช้งานหรือล้าจากการใช้งานผิดวิธี เช่น การยกใบปัดน้ำฝนตั้งขึ้นเวลาจอดรถตากแดด จะยิ่งทำให้อายุของสปริงที่ก้านใบปัดเสื่อมเร็วขึ้น โดยมีวิธีการสังเกตสภาพของใบปัดน้ำฝน ดังนี้
1. ใบปัดทำงานไม่เป็นจังหวะ ใบปัดที่แห้งหรือเปื้อนสนิมจากโครงเหล็ก อาจไปขัดขวางการทำงานของใบปัดให้มีลักษณะกระโดดของเส้นแนวตั้งข้ามไปมา
2. รอยปัดเป็นริ้ว ไม่เรียบ อาจเกิดจาก ซากกิ่งไม้ เศษหินจากถนนทำให้มีรอยยาวหรือยางบริเวณใบปัดแห้งแตก
3. รอยแยกขณะปัดฝน อาจเกิดจากใบปัดหมดอายุการใช้งานหรือแห้งแตกจากการโดนแดดเป็นเวลานาน
4. มีเสียงเสียดสีขณะใช้งาน อาจเกิดจากใบปัดหมดอายุ ยางจึงสูญเสียความยืดหยุ่น เกิดการแห้ง และแข็งตัว
ดูแลรักษารถยนต์ให้คงสภาพดีอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยและทัศนวิสัยในการขับขี่บนท้องถนน ช่วยให้คุณอุ่นใจในยามขับขี่ท่ามกลางสายฝนได้มากขึ้น ด้วยประกันรถยนต์ตามโปรไฟล์ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ..โปรไฟล์ยิ่งดี ความเสี่ยงยิ่งต่ำ เบี้ยยิ่งถูก.. โปรไฟล์คุณอาจดีกว่าที่คุณคิด สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/premotor หรือ โทร.1596